MENU
หน้าแรก
ที่ดิน
บ้าน
ทาวน์เฮ้าส์
คอนโดมิเนียม
อพาร์ทเมนท์
อาคารพาณิชย์
โครงการใหม่
ลงประกาศ
ฟรี!
เข้าสู่ระบบ
เพิ่มเติม
ค้นหาประกาศ
โครงการใหม่
ฝากขายทรัพย์
ข่าว/บทความ
ถามกูรู
ค้นหาตัวแทน
ลงประกาศ
ฟรี!
สมัครสมาชิก
ฟรี!
สมัครตัวแทน
กสิกรฯ เบนเข็มรุกตลาดภูธร หนีศก.-อสังหาฯเมืองกรุงฟุบ
เมื่อ 2 ก.ย. 2562 อ่าน 693 ครั้ง
แชร์ Facebook
แชร์ Twitter
แชร์ Line
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า จาก
สถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้ยอดสินเชื่อบ้านในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมปีที่แล้วชะลอตัว 10-15% จาก
ปีก่อนหน้า ขณะที่เดือนมกราคมปีนี้ ยอดสินเชื่อยังคงต่ำกว่าเป้า เนื่องจากลูกค้าชะลอการโอนและจดจำนองบ้าน ซึ่งจะทำ
ให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชะลอแผนการลงทุนและเปิดขายโครงการน้อยลงในปี 2557 เพื่อดูผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ในวงกว้าง และจะหันไปขยายการลงทุนโครงการแนวราบใน หัวเมืองต่างจังหวัดมากขึ้น เนื่องจากได้รับผล กระทบจาก
การเมืองน้อยกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล
ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกปี 2556 (เดือน ม.ค.- พ.ย.) คอนโดมิเนียมมียอดขายสูงสุดถึง 90,000 หน่วย แต่ในเดือน ธ.ค.
ยอดลดลงมาเหลือ 5,000 หน่วย ส่งผลให้แนวโน้มการซื้อขายคอนโดฯในปี 2557 นี้ จะชะลอตัวลงอยู่ที่ประมาณ 52,000-
60,000 หน่วย
สำหรับยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบในปี 2557 คาดว่าจะมียอดสินเชื่อใหม่ประมาณ 560,021 ล้านบาท และมียอด
สินเชื่อคงค้างของทั้งระบบ ณ สิ้นปี 2557 อยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5-9% (ปี 2556 ประมาณการยอดคงค้างที่ 2.48
ล้านล้านบาท เติบโต 10.5% จากปี 2555) สำหรับธนาคารกสิกรไทย ตั้งเป้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่ม 7% เป็นยอดสินเชื่อใหม่
52,000 ล้านบาท และมียอดสินเชื่อคงค้าง 230,000 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อในกรุงเทพฯ 55% และ
ต่างจังหวัด 45% จากที่ผ่านมามีสัดส่วนในกรุงเทพฯ 60% ต่างจังหวัด 35-40% และในช่วง 3 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีสัดส่วน
การปล่อยสินเชื่อเป็น 50/50
สำหรับปัจจัยที่จะส่งผลต่อการปล่อย สินเชื่อและการลงทุนของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ ปัจจัยหนุนที่
สำคัญได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น การกระจายความเจริญออกไปสู่หัวเมืองต่างจังหวัดทำให้ตลาด
คอนโดมิเนียมบางพื้นที่ยังไปได้ดี เช่น จังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งการศึกษา นิคมอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีแรง
หนุนจากความต่อเนื่องของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ รายได้ของประชากร รวมทั้งการค้าชายแดน และการ
เตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC ในปี 2558 รวมทั้ง ยังมั่นใจว่า ธปท.จะรักษาระดับดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.25% ก็ถือเป็นการกระตุ้น
เศรษฐกิจให้เติบโต และทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6% ซึ่งเป็นระดับที่ลูกค้าสามารถผ่อนชำระ
ได้
ด้านปัจจัยฉุดรั้ง ได้แก่ สถานการณ์ทาง การเมืองที่อาจยืดเยื้อส่งผลให้มีการชะลอการโอนและจำนองในพื้นที่เขต
กรุงเทพฯและปริมณฑล นอกจากนี้ ยังมีภาระหนี้ครัวเรือน แม้จะเริ่มเห็นสัญญาณการเติบโตที่ชะลอลงของหนี้ครัวเรือน
ไทย และระดับหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ของไทยอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนไทยมี
แนวโน้มเติบโตชะลอลง โดย ณ สิ้นปี 2557 คาดว่าอยู่ในระดับ 83.5% ต่อจีดีพี (ปี 2555 อยู่ที่ 77.3%/ ปี 2556 อยู่ที่ 81.5%)
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยฉุดรั้ง เรื่องการขาดแคลนแรงงานที่ทำให้โครงการบ้านเสร็จช้ากว่ากำหนด ต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มจาก
ค่าแรง และราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้นด้วย
แหล่งอ้างอิง
: ผู้จัดการรายวัน
ค้นหาอสังหาริมทรัพย์
- ประกาศสำหรับ -
ขาย
เช่า
เซ้ง
ฝากขาย
จำนอง
- ประเภททรัพย์ -
ที่ดิน
บ้านเดี่ยว
ทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้าส์
คอนโดมิเนียม
อพาร์ทเมนท์
อาคารพาณิชย์
โรงแรม รีสอร์ท
อาคาร พื้นที่สำนักงาน
โรงงาน คลังสินค้า
อื่นๆ
- ทุกจังหวัด -
กระบี่
กรุงเทพมหานคร
กาญจนบุรี
กาฬสินธุ์
กำแพงเพชร
ขอนแก่น
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ชัยภูมิ
ชุมพร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตรัง
ตราด
ตาก
นครนายก
นครปฐม
นครพนม
นครราชสีมา
นครศรีธรรมราช
นครสวรรค์
นนทบุรี
นราธิวาส
น่าน
บึงกาฬ
บุรีรัมย์
ปทุมธานี
ประจวบคีรีขันธ์
ปราจีนบุรี
ปัตตานี
พระนครศรีอยุธยา
พะเยา
พังงา
พัทลุง
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบุรี
เพชรบูรณ์
แพร่
ภูเก็ต
มหาสารคาม
มุกดาหาร
แม่ฮ่องสอน
ยโสธร
ยะลา
ร้อยเอ็ด
ระนอง
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
ลำปาง
ลำพูน
เลย
ศรีสะเกษ
สกลนคร
สงขลา
สตูล
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุโขทัย
สุพรรณบุรี
สุราษฎร์ธานี
สุรินทร์
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อ่างทอง
อำนาจเจริญ
อุดรธานี
อุตรดิตถ์
อุทัยธานี
อุบลราชธานี
- ทุกอำเภอ -
- ราคาเริ่มต้น -
ไม่ระบุ
500,000
1,000,000
2,000,000
3,000,000
4,000,000
5,000,000
- ราคาสูงสุด -
ไม่ระบุ
1,000,000
2,000,000
3,000,000
4,000,000
5,000,000
6,000,000
7,000,000
8,000,000
9,000,000
10,000,000
20,000,000
30,000,000
40,000,000
50,000,000